ประวัติและความเป็นมา

ประวัติ จังหวัด ชุมพร
ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรมชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก

มีชื่อปรากฏมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะ เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราชใช้รูปแพะเป็นตราเมืองและเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบน ของภาคใต้ ในพุทธศักราช 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองตรีอาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัดคำว่าชุมพรมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่าชุมนุมพลเนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านการเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่ง
ในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมาเมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบเป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ตรงกับความหมายชุมนุมพรหรือประชุมพรซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า ชุมนุมพร” เช่นเดียวกันแต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่นได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่า
ตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพรภูมิประเทศจังหวัดชุมพรนับเป็นประตูสู่ภาคใต้(เมื่อลงมาจากภาคกลาง)มีพื้นที่ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธทิศตะวันออกติดกับชายฝั่งอ่าวไทยทิศใต้ติดต่อกับอำเภอท่าชนะจังหวัดสุราษฎร์ธานีทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดระนองและส่วนหนึ่งติดกับประเทศสหภาพพม่าสภาพพื้นที่ทั่วไปไม่มีภูเขาสูงเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำสำคัญหลายสายเช่น แม่น้ำท่าตะเภาในอำเภอเมืองชุมพรมีความยาว33กิโลเมตร แม่น้ำสวีใน


ตราประจำจังหวัด





ภาพคนยืน หมายถึง เทวดาที่ประทานพรให้แก่ชาวเมือง
และกองทัพที่จะยกออกไปทำศึก               
ภาพต้นไม้ทั้งสองข้าง หมายถึง ต้นมะเดื่อ ซึ่งในพื้นที่ของจังหวัด
มีต้นไม้ชนิดนี้อยู่มากมาย
ภาพค่ายและหอรบ หมายถึง จังหวัด นี้เคยเป็นที่ชุมนุมบรรดา
นักรบทั้งหลาย ซึ่งนัดให้มา พร้อมกัน ณ ที่แห่งนี้ ก่อนที่จะเดินทัพ
ออกไปสู้รบกับข้าศึกทั้งนี้ก็เพราะชุมพรเป็นเมืองหน้าด่านมา
แต่โบราณ
คำขวัญประจำจังหวัดชุมพร
ชุมพรประตูภาคใต้   ไหว้เสด็จในกรม  ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี  ดีกล้วยเล็บมือ  ขึ้นชื่อรังนก
สีประจำจังหวัด

(ธงพื้นสีน้ำเงิน กลางมีภาพตราประจำจังหวัด)
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชื่อทั่วไป        ต้นมะเดื่ออุทุมพร
ชื่อสามัญ        Cluster Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์   Ficus racemosa Linn.
วงศ์            LAURACEAE
ชื่ออื่น ๆ          มะเดื่อ มะเดื่อชุมพร กูแซ เดื่อเกลี้ยง เดื่อน้ำ มะเดื่อ
ถิ่นกำเนิด   ถิ่นกำเนิดในศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และตะวันออก
เฉียงใต้
ประเภท          ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5 - 20 เมตร กิ่งอ่อน มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆต่อมาจะหลุดร่วงใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอกปลายใบแหลมโดคนใบทู่ถึงกลม ก้านใบยาว 10.5  เซนติเมตร ดอกเล็กออกเป็นกระจุก ผลรูปไข่กลับ เมื่อสุก
สีแดงเข้มถึงสีม่วง
การขยายพันธุ์   โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็ง
แรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน และปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วน และมีอินทรีย์วัตถุ ระบายน้ำได้ดี
ประโยชน์          ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ชื่อดอกไม้     ดอกพุทธรักษา
ชื่อสามัญ      Butsarana
ชื่อวิทยาศาสตร์  Canna indica Linn.  
วงศ์          CANNACEAE
ลักษณะทั่วไป พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำลำต้นสูงประมาณ 1- 2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า เจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกล้วย ใบมีขนาดใหญ่สีเขียว
โคนใบและปลายใบรีแหลมขอบใบ เรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นชัดใบมีก้านยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกันออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้นช่อดอกเป็น ช่อ ตรงส่วนยอดของลำต้นช่อดอกยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ประ ดอก8 - 10 ดอกและมีกลีบบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การขยายพันธุ์  การเพาะเมล็ด การแตกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม  ดินร่วยซุย แสงแดดจัดกลางแจ้ง


ถิ่นกำเนิด        ประเทศอินเดีย

ที่มา https://sites.google.com/site/supawadeetkp/home/saylaksn-praca-canghwad

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น