อาหารทะเล
ชุมพรขึ้นชื่อทั้งอาหารทะเลสดและแห้ง
เพราะที่นี่มีท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีร้านอาหารทะเลสดให้เลือกรับประทานมากมาย
หรือหากนักท่องเที่ยวต้องการซื้อของฝากกลับบ้าน ที่ชุมพรก็มีอาหารทะเลแปรรูปมากมายให้เลือกซื้อ
เช่นกะปิ น้ำปลากะตัก ปลาหมึกแห้ง ปลาเค็ม
แหล่งซื้ออาหารทะเลที่สำคัญๆของชุมพรและไม่ไกลจากตัวเมืองมากนักก็คือที่ปาก
น้ำชุมพร ซึ่งเป็นชุมชนประมงพื้นบ้าน
ที่นี่เป็นแหล่งขายอาหารทะเลแปรรูปที่ชาวบ้านผลิตเอง ซึ่งเหมาะแก่การซื้อเป็นของฝากอย่างยิ่ง
รังนก

รังนกนางแอ่นของจังหวัดชุมพรเป็นรังนกที่ได้รับการยอมรับจากผู้รักสุขภาพ
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีน ฮ่องกง หรือใต้หวัน
คนนิยมรับประทานรังนกชุมพรกันเพราะว่าเป็นรังนกที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทาง โภชนาการ
โดยสามารถหาซื้อรังนกชนิดต่าง หรือรังนกปรุงสำเร็จได้ที่ร้านชุมพรรังนก
เพราะที่นี่คือผู้ที่ได้รับสัมปทานรังนกนางแอ่นของจังหวัดชุมพร
ผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เป็นรังแท้ 100%
ที่คุณมั่นใจได้เลยว่ามีคุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน
เหมาะอย่างยิ่งในการซื้อไปเป็นของฝาก
ผลไม้


ชุมพรเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านการเป็นเมืองผลไม้นานาชนิด
ไม่ว่าจะเป็นทุเรียนหลังสวน เงาะ ลางสาด มังคุด สับปะรดสวี ส้มโอพันธุ์เจ้าเสวย
มะพร้าว ฯลฯ
โดยเฉพาะกล้วยเล็บมือนางที่เป็นของฝากยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวแทบทุกคนต้อง
ซื้อกลับไปเป็นของฝากทั้งในรูปของกล้วยสดสีเหลืองน่ารับประทานและรวมไปถึง
กล้วยแปรรูปประเภทต่างๆ
ดังนั้นจังหวัดชุมพรจึงเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ใครก็ตามที่ชื่นชอบในผลไม้จะ
ไม่ผิดหวังที่ได้มาเที่ยวชุมพร และได้ชิมผลไม้สดๆจากสวน
โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปีที่จังหวัดชุมพรจะจัดงาน “เทศกาลผลไม้ชุมพร – ท่องเที่ยวชุมชน – กิ่งกาชาด” เพื่อเป็นการเผลแพร่ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัด
ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มากขึ้น
กาแฟสด

ชุมพรเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในประเทศไทย
คนที่ชื่นชอบกาแฟจึงไม่ควรพลาดที่จะไปเที่ยวไร่กาแฟที่เขาทะลุ
เพราะที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความกลมกล่อมในรสชาติของกาแฟมาเป็นเวลานาน
และได้รับการยอมรับจากคอกาแฟว่าเป็นกาแฟที่มีรสชาติดี เข้มข้น หอมอร่อย
เหมาะที่จะซื้อกลับไปเป็นของฝาก หรือหากใครอยากดื่มกาแฟสดๆ
ก็มีขายอยู่ตามปั๊มน้ำมันหลายแห่งบริเวณถนนเส้นหลัก
กาแฟเขาทะลุ

นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวสวนกาแฟเมืองชุมพร
เพราะวันนี้กาแฟโรบัสต้าสายพันธุ์แท้ที่มีแหล่งกำเนิดจากดินแดนบราซิลของเมืองไทย
ภายใต้แบรนด์ "กาแฟเขาทะลุ" (Khao
Thalu) ได้กลายมาเป็นทางเลือกให้กับคอกาแฟไทย-เทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่กว่าที่จะสามารถแจ้งเกิดกาแฟแบรนด์บ้าน ๆ ให้ติดตลาดและโกอินเตอร์ได้
ก็ต้องลงทุนลงแรงกันไม่น้อยทีเดียวในรอบทศวรรษที่ผ่านมาจนกลายเป็นกิจการกาแฟคั่วบดครบวงจร
ทั้งปลูกเอง คั่วเอง เปิดร้านขายกาแฟ และบริการแฟรนไชส์ "สันติ ใจรักษ์"
ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุ ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร บอกว่า
กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุได้มีการรวมกลุ่มชาวสวนกาแฟ จำนวน 1,200 ครอบครัว
มาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งสมาชิกบางคนมาจากจังหวัดระนองด้วย
และทุกคนล้วนมีอาชีพทำสวนกาแฟพันธุ์โรบัสต้า
โดยมีการปลูกกาแฟมากที่สุดในพื้นที่ตำบลเขาทะลุ ตำบลเขาค่าย และตำบลนาสัก
ในเขตอำเภอสวี โดยมีสัดส่วนมากถึง 90% ของพื้นที่ปลูกกาแฟของจังหวัดชุมพร
หลังจากมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์แล้ว ก็ได้ผลิตกาแฟภายใต้แบรนด์
"กาแฟเขาทะลุ" กระทั่งได้รับรางวัลการันตีคุณภาพหลายประเภท ได้แก่
รางวัลหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP 5 ดาว รางวัลพัฒนากาแฟดีเด่นจากงานไทยแลนด์
อาเซียน ค็อฟฟี่ แอนด์ ที ปี 2008 นอกจากนั้นยังผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา
(อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
และเครื่องหมายฮาลาล จากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบันกาแฟเขาทะลุ
มีผลิตภัณฑ์ให้เลือก 3 ชนิด คือ กาแฟปรุงสำเร็จ หรือ 3 in 1 กาแฟคั่วบด และกาแฟเกล็ด (InstantCoffee)
โดยแบ่งเป็น 4 สูตร คือ สูตรรสกลมกล่อม สูตรรสเข้มข้น
สูตรเพื่อสุขภาพ และสูตรดับเบิลชอท (เข้มข้น 2 เท่า) นอกจากจำหน่ายในประเทศแล้ว
ยังมีการส่งออกไปยัง สปป.ลาว และเมียนมาร์ด้วย สโลแกนของกาแฟเขาทะลุ ก็คือ
"จากต้นสู่ถ้วย รสชาติเข้มแท้ กาแฟเขาทะลุ"
การรวมกลุ่มของเกษตรกรชาวสวนกาแฟเช่นนี้
ทำให้สามารถรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรในราคานำตลาดได้เลยจากเมล็ดกาแฟสารที่ผ่านการกะเทาะเปลือก
ซึ่งอยู่ที่ราคากิโลกรัมละประมาณ 80 บาท
แต่เมื่อนำมาเข้าสู่กระบวนแปรรูปจนกลายเป็นเมล็ดกาแฟคั่ว
ก็สามารถเพิ่มมูลค่าเป็นกิโลกรัมละ 320 บาท
ที่สำคัญยังทำให้ลูกหลานของชาวสวนกาแฟในพื้นที่ทุกคนมีงานทำ
และมีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในชุมชนอีกด้วย "การทำการตลาดของกาแฟเขาทะลุ เริ่มจากการบอกกันปากต่อปาก
ก่อนจะขยับเข้าไปตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ
พร้อมทั้งมีการขายแฟรนไชส์แก่ผู้ที่ต้องการนำกาแฟเขาทะลุ ไปเปิดบูทตามสถานที่ต่าง
ๆ ส่วนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นี้
กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุก็จะหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตและขยายตลาดให้มากขึ้น"
นายสันติกล่าว กาแฟเขาทะลุ
เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จของชาวสวนกาแฟ ที่ไม่ใช่แค่ปลูกและขายเฉพาะวัตถุดิบ
ซึ่งมักเจอปัญหาพ่อค้าคนกลางกดราคา
แต่เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ต้องการของนักดื่มกาแฟ
ทำให้สินค้าชุมชนแห่งนี้โกอินเตอร์ไปแล้ว
ที่มา https://sites.google.com/site/zingleskyy112/khxng-fak-cak-chumphr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น